นอกจากนี้ 60% ของมันยังมาจากทวีปเอเชีย
ตลอดทั่วภูมิภาคอาเซียน เราสามารถพบขยะและพลาสติกก่อมลพิษตามชายหาด มหาสมุทร และในระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนเช่น แนวปะการังต่าง ๆ ซึ่งทำร้ายต่อสัตว์ทะเลที่มักเข้าใจผิดว่าพลาสติกเหล่านั้นเป็นอาหารอีกด้วย
นอกจากนี้ พลาสติกยังใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลายและแตกตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ซึ่งมักปะปนลงในน้ำทะเลและยากที่จะกรองออก สิ่งที่เรียกว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตามห่วงโซ่อาหารและท้ายที่สุดมันก็ลงเอยอยู่ภายในตัวมนุษย์ที่บริโภคพวกมันเป็นอาหารทะเล
ประเทศเวียดนาม ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อขยะพลาสติกทางทะเลรายใหญ่ที่สุด พวกเขาเป็นผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้บริโภคพลาสติกขนาดใหญ่ หากมีระบบการจัดการขยะที่มีข้อจำกัดสูงจนนำไปสู่การรั่วไหลของพลาสติกไปยังสิ่งแวดล้อม
EPPIC อยู่ระหว่างการดำเนินการในช่วงเวลา 2.5 ปี เพื่อระบุและเพิ่มวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ ที่มีความหวัง มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เพื่อจัดการปัญหาที่กำลังใหญ่ขึ้นนี้ โดยมุ่งเน้นไปยังประเทศที่ปล่อยพลาสติกลงทะเล 4 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และประเ เวียดนาม
นช่วงที่ 2 ของ EPPIC (พ.ศ. 2564-2565) การแข่งขันจะมุ่งเน้นไปยังสถานที่ที่มีเอกลักษณ์สูงเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้ สถานที่เป้าหมายของเรา ได้แก่ Mandalika Special Economic Zone, Lombok Island, Indonesia และ Samal Island, the Philippines.
EPPIC กำลังมองหาวิธีการแก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ในการต่อสู้กับมลพิษขยะพลาสติก ซึ่งเสนอทางเลือกที่ยั่งยืน เพิ่มห่วงโซ่มูลค่าให้แก่พลาสติก ปลูกฝังการรีไซเคิล ลดมลพิษจากการท่องเที่ยว และสนับสนุนการควบคุมพลาสติก ในขณะที่ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อมีสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมแก่ Mandalika, Lombok และ Samal.